มารยาทการกราบและการไหว้

มารยาทการกราบและการไหว้




การประนมมือ (อัญชลี) นิยมใช้แสดงความเคารพพระรัตนตรัย ในเวลาฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ สวดพระอภิธรรม ฟังพระธรรมเทศนา เป็นต้น
วิธีการประนมมือ ยกมือทั้งสองขึ้นประกบกัน ตั้ง เป็นกระพุ่มมือ ประนมไว้ระหว่างอก ให้ปลายมือตั้งขึ้น ข้างบนนิ้วมือ ทั้งสองข้าง ทุกนิ้วแนบชิดสนิทกัน อย่าให้เหลื่อมล้ำกัน อย่าให้กางห่างออกจากกัน ข้อศอกทั้งสองแนบชิดชายโครง
การประนมมือนี้เป็นกิริยาอาการที่แสดงความเคารพพระรัตนตรัย จึงนิยมทำด้วยความเรียบร้อย ตั้งใจไม่นิยมปล่อยให้นิ้วมืองอหงิก นิยมตั้งกระพุ่มไว้ระหว่างอกเอียงกับลำตัวประมาณ ๔๕ องศา ไม่ยก ให้สูงจรดคางหรือจรดปาก ไม่ปล่อยปลายมือให้ตกต่ำลงมาวางอยู่ที่ท้องหรือวางไว้ที่หน้าตักหรือหัวเข่า
การประนมมือนี้เป็นกิริยาอาการที่แสดงความเคารพพระรัตนตรัย จึงนิยมทำด้วยความเรียบร้อย ตั้งใจไม่นิยมปล่อยให้นิ้วมืองอหงิก นิยมตั้งกระพุ่มไว้ระหว่างอกเอียงกับลำตัวประมาณ ๔๕ องศา ไม่ยก ให้สูงจรดคางหรือจรดปาก ไม่ปล่อยปลายมือให้ตกต่ำลงมาวางอยู่ที่ท้องหรือวางไว้ที่หน้าตักหรือหัวเข่า



การไหว้ นมัสการ





การไหว้พระรัตนตรัย นิยมแสดงความเคารพพระรัตนตรัยด้วยการไหว้เมื่อนั่งเก้าอี้หรือยืนอยู่ มีวิธีการทำดังนี้คือ
๑. ประนมมือไว้ระหว่างอก
๒. ยกมือประนมขึ้นพร้อมกับก้มศรีษะลงเล็กน้อย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ให้ปลายนิ้วชี้ี้ จรดหน้าผาก ทำเพียงครั้งเดียว แล้วลดมือลงตามเดิม





การไหว้บุคคล





การไหว้ซึ่งกันและกันนั้นนิยมปฏิบัติเพื่อความ เหมาะสมแก่ชั้นและวัยของบุคคล
นั้น ๆ มี ๓ แบบ คือ ๑. การไหว้บุคคลผู้มีอายุมากกว่า (เป็นผู้ใหญ่มากกว่า) ๒. การไหว้บุคคลผู้มีอายุเสมอกัน ๓. การไหว้บุคคลผู้มีอายุน้อยกว่า ๑. การไหว้บุคคลที่มีอายุมากกว่า
สำหรับผู้น้อยปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ โดย ถือหลักมีชาติกำเนิดสูงกว่า มีคุณ ธรรมความดีได้รับยกย่องให้เป็นผู้ ปกครอง บังคับบัญชา และมีอายุ แก่กว่าตนการไหว้นิยมยกกระพุ่มมือขึ้นไหว้ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้วนิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนดั้งจมูกพร้อมกับก้มศรีษะน้อมตัวลงพองาม สายตามองดูท่านด้วยความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตน





๒. การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกัน นิยมยกมือกระพุ่มขึ้นไหว้ ให้ปลายนิ้ชี้อยู่ที่ดั้งจมูก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ที่คางก้มศรีษะเล็กน้อยสายตามองกันและกันด้วยความหวังดีปราถนาดีต่อกัน


ไวรัส คอมพิวเตอร์ คืออะไร?

ไวรัสคอมพิวเตอร์คือ Software รูปแบบหนึ่ง ที่มีหน้าที่ก่อกวน ขัดขวาง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล ที่มีอยู่ในระบบ คอมพิวเตอร์ของเรา ผลจากการติดไวรัส จะทำให้คอมพิวเตอร์ของเรา ทำงานไม่ ปรกติ
เช่น

ใช้เวลานานในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน

เปิดใช้งานข้อมูลที่มีอยู่เดิมไม่ได้

วันเวลาของโปรแกรมเปลี่ยนไป

ข้อความที่ไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย ๆ

เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ

เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้อยู่

แป้นพิมพ์ทำงานผิดเพี้ยนหรือไม่ทำงานเลย

ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้

ไฟล์แสดงสถานะ การทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น

ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยมีใช้อยู่ ๆ ก็หายไป

เครื่องทำงานช้าลงอย่างมาก

เครื่องรีสตาร์ทตัวเองโดยที่เรายังไม่ได้สั่ง

ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ (แฮ้งค์)

มีการส่งข้อมูลส่วนตัว หรือไวรัส จากเครื่องเราออกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์คนอื่น โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
ไวรัสคอมพิวเตอร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีอีกหลายรูปแบบ โดยแบ่งตามเป้าหมายที่ไวรัสนั้นๆ เข้าไปทำงาน ไวรัสที่ได้ยินชื่อบ่อยๆ คือ Worm, Torjan, Borntok, Godzill

ไวรัส คอมพิวเตอร์ มาจากไหน?


มีผู้ไม่หวังดี หลายๆกลุ่ม ที่มีความรู้เรื่องโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สร้างขึ้นมา


เพื่อทดสอบความสามารถของตนเอง

เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของตนเอง

เพื่อโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น

เพื่อก่อกวนให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน

หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ

ไวรัส คอมพิวเตอร์ มาได้อย่างไร?
มาจากอินเตอร์เน็ต
โดยโปรแกรมไวรัสคอมพิวเตอร์จะติดมาพร้อมกับ ไฟล์ที่เราโหลดมาจากอินเตอร์เน็ต สคริปของเว็บไซต์ที่เราเปิด ไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ โปรแกรมสนทนา เช่น MSN


มาจาก แฟลซ์ ไดร์ฟ

เมื่อเรานำแฟลซ์ ไดร์ฟ มาใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไวรัส ก็จะทำให้แฟลซ์ ไดร์ฟ ตัวนั้นติดไวรัส และถ้าเรานำแฟลซ์ ไดร์ฟ ที่ติดไวรัส ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ก็จะทำให้คอมพิวเตอร์นั้นๆ ติดไวรัสไปด้วย


แล้วเราต้องทำอย่างไร ?



ติดตั้งโปรแกรม ป้องกันไวรัสที่มีลิขสิทธ์

เพราะเราจะสามารถโหลดรายการไวรัสใหม่ๆ ได้ทันทีบนระบบอินเตอร์เน็ต

ไม่รับเมล์ จากคนที่เราไม่รู้จัก

เพราะเมล์นั้นอาจมีไวรัสแฝงอยู่ก็ได้

เข้าเว็บไซด์ขององค์กรที่มีมาตรฐาน หรือเว็บไซด์ที่คนทั่วๆ ไปรู้จักเป็นอย่างดี

เพราะถ้าเข้าเว็บไซด์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ หรือไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เว็บไซด์นั้นอาจขาด ความรับผิดชอบ และอาจมีไวรัสแฝงอยู่ในเว็บไซด์นั้นก็ได้

ก่อนใช้ แฟลซ์ ไดร์ฟ ต้อง สแกนไวรัสด้วยโปรแกรมป้องกันไวรัส ที่มีลิขสิทธิ์ ก่อนทุกครั้ง

เพราะจะได้มั่นใจได้ว่าไม่มีไวรัสอยู่ในแฟลซ์ ไดร์ฟ นั้น


การติดตั้งโปรแกรม ป้องกันไวรัสที่มีลิขสิทธ์ ไม่ได้หมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจะปลอดภัยจากไวรัส ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเราควรที่จะเข้า เว็บไซด์ของ โปรแกรม ป้องกันไวรัสที่มีลิขสิทธ์นั้น เพื่อเข้าไปอ่านข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับไวรัส แล้วนำความรู้ที่ได้มาป้องกัน แก้ไขปัญหาไวรัสในเครื่องของเรา ควบคู่ไปกับการใช้โปรแกรม เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสนั้นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย